ความท้าทายในปัจจุบัน
โรงเรียนคาทอลิกหลายแห่งดำเนินการอยู่ในประเทศที่กําลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนาน ใหญ่ ทั้งในแง่มโนภาพต่ออนาคต และวิถีทางการดำเนินชีวิต ประเทศเหล่านี้กําลังปรับเปลี่ยน ประเทศให้ มีลักษณะแบบเมืองและให้ เป็นประเทศอุตสาหกรรม และกําลังเคลื่อนเข้าสู่ ระบบ เศรษฐกิจที่เรี ยกกันว่า “เศรษฐกิจขั้นที่สาม” อันมีลักษณะที่เห็นได้จากมาตรฐานการครองชีพที่ สูงขึ้น โอกาสทางการศึกษาที่มีทางเลือกมากมาย และระบบสื่อสารมวลชนที่ซับซ้อน เยาวชนใน ประเทศเหล่านี่คุ้นเคยกับสื่อประเภทต่างๆ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทารก พวกเขาถูกทิ้งให้ เปิดรับความ คิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายในแทบจะทุกหัวข้อเท่าที่จะนึกถึงได้ และได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นอย่างดีจนน่าแปลกใจ แม้ว่าพวกเขายังอยู่ในวัยเด็กเล็กมาก
เยาวชนเหล่านี้ซึมซับเอาความรู้ ต่างๆ นานามากมายจากแหล่งที่มาหลากหลายประเภท รวมทั้งจากโรงเรียนด้วย แต่พวกเขายังไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะจัดระเบียบและจัดลำดับ ความสำคัญของสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ เหล่านี้ พวกเขายังไม่มีความสามารถในเชิงวิพากษ์ ซึ่งจําเป็น ในการแยกแยะสิ่งที่จริงและสิ่งที่ดี ออกจากสิ่งตรงกันข้าม พวกเขายังไม่มีบรรทัดฐานทางศาสนา และทางศีลธรรมซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความจริ ง และเป็นอิสระไม่ ขึ้นกับใคร เมื่อต้องเผชิญกับทัศนคติและความเคยชินที่ยึดถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไปในสังคม ในทุก วันนี้ แนวความคิดเกี่ยวกับ ความจริ ง ความงาม และความดี กลับกลายเป็นสิ่งคลุมเครือไม่ชัดเจน จนกระทั้งบรรดาเยาวชนไม่รู้ จะหันหน้าไปพึ่งใคร ถึงแม้ว่าพวกเขาจะสามารถยึดถือคุณค่าบาง ประการ แต่พวกเขาก็ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะพัฒนาคุณค่าเหล่านี้ให้ กลับกลายเป็นวิถีชีวิต ของพวกเขาได้ บ่อยครั้งที่พวกเขามีความโน้มเอียงที่จะเลือกทำเพียงแต่สิ่งที่ตนเองอยากจะทำ โดย ยอมรับสิ่งใดก็ตามที่เป็นที่นิยมกันอยู่ในขณะนั้น
ความเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน และช้าเร็วแตกต่างกันไป โรงเรียน แต่ละแห่งจึงต้องคอยสอดส่องดูแลพฤติกรรมทางศาสนาของเยาวชน เป็นหูเป็นตาแทนพ่อแม่ของ พวกเขา เพื่อที่จะได้ค้นพบกระบวนการในการคิดของพวกเขา วิถีการดำเนินชีวิตของพวกเขา และ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา
มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 8 - 9
Link เพื่อแชร์ : https://1th.me/U285T
ที่มา : หนังสือก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (หน้า7)