การล่วงละเมิดทางจิตใจ หมายถึง การตอบสนองต่ออารมณ์ของเด็กอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงและต่อเนื่องต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการกระทำบางอย่างที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีโอกาสอย่างสูงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือพัฒนาการของเด็กทางด้านร่างกายจิตใจ จิตวิญญาณ ศีลธรรม และสังคม เช่น
• การด่าว่าด้วยคำหยาบคาย การดูถูก ถากถาง เยาะเย้ยด้วยวาจา และสายตา
• การขู่ การทำให้กลัวหรือให้อาย การแสดงความรังเกียจ เฉยเมย และสร้างความโดดเดี่ยวไม่ให้ผู้อื่นคบหรือยอมรับ ปล่อยให้ถูกรังเกียจ การกักขัง หน่วงเหนี่ยว
• การทำให้เด็กรู้สึกไร้ค่าหรือไม่มีใครรัก ไม่ดีพอ หรือจะมีค่าต่อเมื่อเด็กทำตามความต้องการของคนอื่น
• การสั่งให้เด็กเงียบ หรือหัวเราะเยาะสิ่งที่เด็กพูดหรือลักษณะที่เด็กสื่อสาร โดยการไม่ให้เด็กมีโอกาสแสดงความเห็น
• การตั้งความคาดหวังที่ไม่สมกับวัยหรือพัฒนาการของเด็ก เช่น การปฏิบัติต่อกันเกินความสามารถทางพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนการปกป้องเด็กมากเกินไปและการ จำกัดความอยากรู้ อยากเห็น และการเรียนรู้ หรือขัดขวางเด็กไม่ให้มีส่วนร่วมในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมตามปกติ
• การทารุณจิตใจในบางระดับที่เกี่ยวพันกับการกระทำที่โหดร้ายต่อเด็กในทุกประเภท แม้ว่าเกิดขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียวก็ตาม
ร่องรอยของการถูกล่วงละเมิดทางจติใจ
− การทารุณทางจิตใจจนเป็นเหตุให้เด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
− เด็กไม่ใส่ใจสิ่งที่ทำหรือสิ่งที่เกิดขึ้นต่อพวกเขา ที่เรียกว่าพฤติกรรมตามสิ่งเร้าในด้านลบ
− เด็กพยายามทำให้คนอื่นเกลียด ซึ่งเรียกว่าพฤติกรรมการแยกตัวโดดเดี่ยว
− เด็กที่จะถูกทารุณทางจิตใจอาจสร้างพฤติกรรมในการรับความเสี่ยง เช่น การลักขโมย การกลั่นแกล้งและการหนีออกจากบ้าน
− การทำร้ายตัวเองหรือความผิดปกติด้านการกิน
− การขาดทักษะทางการเข้าสังคม
− การตีตัวออกห่างจากพ่อแม่หรือเพื่อน