การเสวนาระหว่างศาสนาในโรงเรียนคาทอลิก
1. หลากพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย
ความหลากหลายของสังคมไทยมีความแตกต่างทางด้านความเชื่อและพหุวัฒนธรรมค้นพบโดยสมาชิกทุกคนในชุมชน ทั้งในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาผ่านหลากหลายวิธี รวมถึงชีวิตประจำวัน ครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น และสื่อต่างๆ การเผชิญหน้าเหล่านี้อาจนำไปสู่คำถามเช่น 'ทำไมพวกเขาแต่งตัวแบบนั้น' …
'คุณเป็นคริสตชนได้ไหม' … 'ทุกศาสนาเหมือนกันไหม' … 'แล้วลัทธิอเทวนิยมล่ะ'
2. บทบาทของโรงเรียนคาทอลิก
โรงเรียนคาทอลิกมีบทบาทสำคัญในภารกิจการประกาศข่าวดีแห่งความรอด โดยเชื่อมโยงนักเรียนเข้ากับชีวิตของพระศาสนจักร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตทั้งในและนอกโรงเรียน เราทำสิ่งนี้โดยส่งเสริมอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ผ่านทางการสร้างบรรยากาศการจัดการเรียนการสอนแบบคาทอลิก
3. การดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกันในบริบทพหุวัฒนธรรม
การเรียนรู้ในความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาที่แตกต่างกันและการพบปะกับผู้คนที่มีความเชื่อต่างกัน สามารถช่วยเพิ่มพูนความรู้และความซาบซึ้งในศรัทธาและประเพณีทางศาสนาของนักเรียน ในการสังเกตทั้งความเหมือนและความแตกต่างกับศาสนาอื่นๆ นักเรียนสามารถยืนหยัดได้ในธรรมชาติอันมีค่าของประเพณีคริสตชนและเคารพในความเชื่อของบุคคลอื่นต่อทุกสิ่งที่จริงและศักดิ์สิทธิ์ในศรัทธาของพวกเขาเอง การเข้าใจอย่างแท้จริงในความแตกต่างและความเหมือนอย่างชัดเจนนี้ช่วยปกป้องนักเรียนจากความสับสน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้นำไปสู่สัมพัทธนิยมที่ยืนยันได้ว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ไม่สนับสนุนความไม่แยแสโดยไม่สำคัญว่าคุณนับถือศาสนาใด
4. การเสวนาระหว่างศาสนา
ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมานับตั้งแต่สังคายนาวาติกันครั้งที่สอง การพบปะกับบรรดาผู้นับถือศาสนาอื่นได้ดำเนินการผ่านความมุ่งมั่นของสมาชิกในชุมชนคาทอลิกให้เข้าร่วมการเสวนาระหว่างศาสนาและระหว่างวัฒนธรรม การเสวนาคือการเชื้อเชิญให้เข้าใจและเคารพผู้อื่นรวมถึงความศรัทธาและวัฒนธรรมของพวกเขา ในขณะเดียวกันก็เพิ่มพูนความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและความมุ่งมั่นต่อประเพณีความเชื่อของตนเอง และเป็นการเชิญมามีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับประเพณีทางศาสนาและศรัทธาของตนเองและเคารพประเพณีของผู้อื่น
ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1) การเสวนาในชีวิตประจำวัน: ผู้คนแบ่งปันความสุขและความทุกข์ ปัญหาและความหมกมุ่นของมนุษย์ และพัฒนามิตรภาพส่วนบุคคลตามความไว้วางใจซึ่งกันและกัน; 2) การเสวนาของการกระทำ: การทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของโลกและเพื่อทุกคน; 3) การเสวนาเชิงเทววิทยา: ที่ผู้เข้าร่วมเข้าใจประเพณีของกันและกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น และ 4) การเสวนาของประสบการณ์ทางศาสนา: ที่ซึ่งบุคคลซึ่งมีพื้นฐานมาจากประเพณีทางศาสนาของตน แบ่งปันความมั่งคั่งทางจิตวิญญาณของตน เช่น เกี่ยวกับการอธิษฐานและการไตร่ตรอง พิธีการ และสถานที่สักการะ
5. คำถามเพื่อการไตร่ตรอง
- นักเรียนในโรงเรียนคาทอลิกต้องเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตในโลกที่มีความหลากหลายและซับซ้อนอย่างไร
- เพื่อให้สอดคล้องกับคำสอนของสังคายนาวาติกันที่สอง โรงเรียนคาทอลิก 'ประกาศพระคริสต์ ผู้ซึ่งเป็น “หนทางความจริง และชีวิต" (ยอห์น 14:6) ในขณะเดียวกันพวกเขา 'รับรู้ รักษา และส่งเสริม' ทุกสิ่ง เป็นความจริงและศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่น
- นักเรียนสามารถเข้าใจอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านประเพณีความเชื่อที่แตกต่างกัน
- ผู้อำนวยการและผู้นำในโรงเรียนต้องเตรียมครูให้พร้อมสำหรับการศึกษาระหว่างศาสนา
- ผู้อำนวยการและผู้นำในโรงเรียนจำเป็นต้องทำให้การศึกษาระหว่างศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน
- การเสวนาระหว่างศาสนามีสี่รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน: การเสวนาด้วยชีวิต การเสวนาด้วยการกระทำ การเสวนาด้วยเทววิทยา และการเสวนาด้วยประสบการณ์ทางศาสนา เป็นจริงในโรงเรียนของเราได้อย่างไร
---------------------------------------------------------
สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คัดลอกLinkเพื่อแบ่งปันบทความ: https://bit.ly/3OF8vNf