กฎหมายคุ้มครองเด็ก
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กำหนดถึงการคุ้มครองเด็ก ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรงเรียนดังต่อไปนี้
(1) การปฏิบัติคุ้มครองเด็ก
กฎหมายกำหนดให้การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ และไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้ปกครองต้องให้การเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กตามสมควรโดยยึดขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้กฎหมายยังบัญญัติถึงข้อห้าม การกระทำต่อเด็กไว้ด้วย
(2) การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
กฎหมายกำหนดให้โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้ คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ ปกครอง เพื่อการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา และกำหนดให้นักเรียนและนักศึกษาต้องแต่งกายและต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนรายละเอียดเพื่อการศึกษาความเข้าใจเพิ่มเติมมีอยู่ ใน ภาคผนวก ข. กฎหมายคุ้มครองเด็ก
1.2 หลักการและวัตถุประสงค์
คู่มือปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียนจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรโรงเรียนทุกคนปฏิบัติเพื่อปกป้องคุ้มครองนักเรียนให้ปลอดภัยและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถเติบโตและพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่และได้รับการคุ้มครองให้ปราศจากการล่วงละเมิดใดๆ ซึ่งรวมถึงหน้าที่โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนนักเรียนที่ถูกล่วงละเมิดจนแน่ใจได้ว่านักเรียนสามารถปรับตัวและพฤติกรรมจนเข้าสู่สภาวะปกติได้ เพื่อเป็นหลกัประกันว่า นักเรียนจะได้รับการการส่งเสริมศักดิ์ศรีปกป้องสิทธิที่พึงมีและรับการคุ้มครอง จากการล่วงละเมิดต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในโรงเรียน คู่มือปฏิบัติจึงมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อการส่งเสริมศักดิ์ศรี ปกป้องสิทธิและป้องกันการล่วงละเมิดใดๆ อย่างสอดคล้องกับพระวรสารในด้านความรักและอิสรภาพ ข้อเรียกร้องของพระศาสนจักร ปฏิญญาและกฎบัตรสหประชาชาติกฎหมายบ้านเมือง และจรรยาบรรณวิชาชีพตามกำหนดของคุรุสภา
(2) เพื่อให้เป็นข้อปฏิบัติที่บุคลากรโรงเรียนได้ศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ นำสู่การปฏิบัติต่อนักเรียนและ ระหว่างนักเรียนด้วยกันเองอย่างเหมาะสมกับวุฒิภาวะของแต่ละวัย
(3) เพื่อเป็นเงื่อนไขที่ชัดเจนให้ เป็นที่รับทราบและเห็นชอบของบุคลากรโรงเรียนและผู้สมัคร เข้าร่วมงานใหม่ของโรงเรียนทุกคน ทั้งเป็นผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและบุคลากรทั่วไป
(4) เพื่อกำหนดมาตรการและบุคลากรในการสังเกตเฝ้าระวังและแจ้งเหตุสงสัยถึงการล่วงละเมิด อย่างชัดเจนและเป็นแนวทางปฏิบัติบนพื้นฐานการเคารพสิทธิและการให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดให้มีการอบรมที่เหมาะสมแก่บุคลากรโรงเรียน คู่มือปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียนนี้ใช้กับ “บุคลากรโรงเรียนทุกคน” ซึ่งหมายความถึงแต่ไม่ จำกัดแต่เฉพาะบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) ผู้รับใบอนุญาต คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ผู้อำนวยการ รองและผู้ช่วยผู้อำนวยการ
(2) บุคลากรที่รับค่าจ้างทุกคนในโรงเรียน ได้แก่ ครู ผู้ช่วยสอน พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการแม่ครัว แม่บ้าน นักการภารโรง
(3) ผู้จัดกิจกรรมจากภายนอกในบางเวลา รวมถึง ที่ปรึกษา วิทยากรรับเชิญ ผู้เชี่ยวชาญรับเชิญ
(4) ผู้ฝึกสอน อาสาสมัคร นิสิตนักศึกษาฝึกสอน
(5) ผู้รับจ้าง รวมถึง ผู้รับเหมางานต่างๆ ผู้ที่มาค้าขายในโรงเรียน
(6) ผู้ปกครอง ผู้ร่วมกิจกรรมของโรงเรียน
นักเรียนผู้ได้ รับการปกป้องคุ้มครองตามคู่มือปฏิบัตินี้ นอกจากหมายถึง เด็ก ผู้ เยาว์ เยาวชนผู้รับการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว ยังหมายความรวมถึงเด็กและผู้เยาว์ทุกคนที่โรงเรียน บุคลากรโรงเรียนและนักเรียนของโรงเรียน เข้าไปเกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมของโรงเรียนด้วยโรงเรียนได้จัดทำประกาศรับรองสิทธิและการปกป้องคุ้มครองของโรงเรียนเพื่อให้ทราบถึงข้อพึงปฏิบัติอันเป็นประกันและมาตรฐานการดูแลสูงสุดอย่างต่อเนื่อง และได้ติดประกาศนี้ตามที่ต่างๆ ในบริเวณโรงเรียนที่บุคลากรโรงเรียนและบุคคลที่มาติดต่อ สามารถเห็นและอ่านได้ง่ายและจะนำไปปรับใช้โรงเรียนจะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงคำประกาศนี้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ตัวอย่าง คำประกาศมีอยู่ในภาคผนวก ค. คำประกาศรับรองสิทธิและการปกป้องคุ้มครองนักเรียน
Link เพื่อแชร์ : https://1th.me/xkZFy