สถานที่ติดต่อ

122/9 อาคารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120

สถานที่ติดต่อ

เปิดบริการ จันทร์ - ศุกร์ 
หยุด เสาร์ - อาทิตย์

ติดต่อเพิ่มเติม

โทร : 02-681-3840-4 อีเมล์ : catheduth@gmail.com

การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางฯ ครั้งที่ 2/2568
โครงการสภาการศึกษาคาทอลิกไทยร่วมขับเคลื่อนงานป้องกันควบคุมบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าในสังคมไทย” จัดประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางฯ ครั้งที่ 2/2568
📍📜จุดยืนของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยต่อนโยบายพนันออนไลน์และคาสิโน
ข่าวประชาสัมพันธ์ - ขอเชิญครูเข้าร่วมอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2568
ฝ่ายอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ขอเชิญครูเข้าร่วมอบรมเตรียมให้ความรู้ก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2568 เรื่อง “ครูโรงเรียนคาทอลิกก้าวด้วยอัตลักษณ์ในปีศักดิ์สิทธิ์ 2025”
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568 ของสมาคมสภาการศึกษาคาทอลิก (ประเทศไทย) การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมเล็ก โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ สีลม
ประชุมเตรียมความพร้อมโครงการ MISSION POSSIBLE Youth Social Hackathon : Season 2
การประชุมคณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 10.00 - 12.00 น. ห้องประชุมชั้น 6 ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
🎁เข้าพบสวัสดีปีใหม่ นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ (สช.)🎁
Catholic Education Council of Thailand
ตลาดนัดคุณธรรม โชว์ แชร์ เชื่อมโรงเรียนเครือข่ายคาทอลิกภาคกลาง (โรงเรียนคุณธรรมตามอัตลักษณ์ของโรงเรียนคาทอลิก)
พิธีมอบรางวัลให้กับโรงเรียนและครูผู้ขับเคลื่อนงานโรงเรียนปลอดบุหรี่ ประจำปี 2567
ศึกษาดูงาน Best Practice โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์
สมาคมครูโรงเรียนคาทอลิกแห่งประเทศไทยศึกษาดูงาน Best Practice โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์

 

ความก้าวหน้าที่สำคัญของโรงเรียนคาทอลิก คือ การเปลี่ยนสถานะของตนจากการมีฐานะเป็นสถาบัน มามีฐานะเป็นชุมชน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการประกาศพระวรสาร และการอบรมมนุษย์อย่างครบครันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรงเรียน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโรงเรียน ซึ่งได้แก่ ครูผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาอื่น รวมถึง พ่อแม่ และนักเรียนสมาชิกของชุมชนโรงเรียน ยิ่งสามารถจะพัฒนาความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือ กันและกันด้วยจิตตารมณ์แห่งเสรีภาพและความรักตามพระวรสารมากขึ้นเท่าใด งานที่พวกเขาทำก็ยิ่งจะบรรลุผลได้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงควรเปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างสมาชิกเหล่านี้ การประชุมกันบ่อยๆ จะช่วยให้มีการสื่อสารกัน และความมุ่งมั่นที่จะถกเถียงปัญหาที่มีร่วมกัน ก็ยิ่งจะช่วยให้มีการสื่อสารกันมากขึ้น

มิติด้านศาสนาของการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 31-32, 39

 

บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายของชุมชนการศึกษาคาทอลิกได้สังเคราะห์และสรุปไว้เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

บทบาทของโรงเรียนกับครูโรงเรียนต่อครู

1. โรงเรียนเป็นที่พักใจของครู ด้วยการยกย่องและเชิดชูเกียรติ และให้ค่าตอบแทนสวัสดิการ และผลประโยชน์อื่นๆ แก่ครูและบุคลากร เพื่อให้มีความเป็นอยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติและเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครู

2. โรงเรียนให้การอบรมและพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมเกี่ยวกับครู เพื่อให้เป็นครูที่มีคุณภาพ สามารถปฏิบัติภารกิจของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานอภิบาล โรงเรียนกระตุ้นให้ครูเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระคริสต์

 

ครูต่อโรงเรียน

1. ครูรับผิดชอบ เสียสละ และทุ่มเท ในการปฏิบัติหน้าที่ สอนด้วยการมีชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระคริสต์ ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการทำงาน อุทิศตน เสียสละ และรักษาจรรยาบรรณ

2. ครูร่วมมือ และทำงานเคียงคู่กับพระสงฆ์และนักบวช เพื่อปกป้อง พัฒนาพันธกิจ และสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในบรรยากาศการศึกษาคาทอลิก

3. ครูรัก ดูแล เอาใจใส่ ปกป้อง และสวดภาวนาให้นักเรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้งกระตุ้น เสริมแรงให้นักเรียนรักในการปฏิบัติคุณธรรมอย่างต่อเนื่องและยังยืน

 

บทบาทของโรงเรียนกับพ่อแม่โรงเรียนต่อพ่อแม่

1. โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน และการวางแผนการศึกษา และจัดให้มีเครือข่ายผู้ปกครอง

2. โรงเรียนจัดการประชุมเพื่อปลุกจิตสำนึกให้กับพ่อแม่ในการทำหน้าที่อบรมบุตรในฐานะครูคนแรกของลูกที่ไม่อาจทดแทนได้ และมีหน้าที่ในการติดตามเอาใจใส่ เพิ่มพูนความรู้ และคุณธรรมแก่ลูก และจัดศาสนกิจเพื่อให้พ่อแม่และนักเรียนมีโอกาสร่วมกัน และติดตามเยี่ยมเยียนครอบครัวอย่างใกล้ชิด

 

พ่อแม่ต่อโรงเรียน

1. พ่อแม่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนานักเรียนในทุกด้าน และสร้างบรรยากาศภายในครอบครัว ที่อบอุ่น เปี่ยมด้วยความรัก และความเชื่อต่อพระเจ้า

2. พ่อแม่ให้ความร่วมมือในการกำหนดเป้าหมาย และการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน รวมทั้งเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียน ประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน

3. พ่อแม่อบรมเลี้ยงดู ปลูกฝังคุณธรรม ให้การศึกษาแก่ลูก ให้รู้จักรักเพื่อนมนุษย์และพระเจ้า สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้มีชีวิตชีวา เปี่ยมด้วยความเชื่อศรัทธาในศาสนาของตน

 

บทบาทของโรงเรียนต่อรัฐและชุมชน

1. โรงเรียนประสานและร่วมมือกับนโยบายของรัฐ และร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม บนจุดยืนของหลักการการศึกษาคาทอลิก

2. โรงเรียนเรียกร้องให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการจัดการศึกษาอย่างเหมาะสมและเพียงพอ และกำหนดทิศทางนโยบาย และมาตรฐานการศึกษาที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และเป็นเอกภาพ

3. โรงเรียนสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และเข้ามาร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

4. โรงเรียนตระหนักในหน้าที่ที่เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และการพัฒนาชุมชน

5. โรงเรียนเผยแพร่การปฏิบัติงานของโรงเรียนต่อสาธารณชน สร้างจิตสำนึก ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรมประเพณีไทย และสนับสนุนคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมและสันติในสังคม

 

บทบาทของโรงเรียนกับพระศาสนจักรพระศาสนจักรต่อโรงเรียน

1. พระสังฆราชประจำท้องถิ่นสร้างความตระหนักให้กับพระสงฆ์ผู้รับผิดชอบการศึกษาของสังฆมณฑล และวิเคราะห์สมณสาสน์ด้านการศึกษาคาทอลิก

2. พระสงฆ์ นักบวช ฆราวาสผู้รับผิดชอบการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก

3. สภาการศึกษาคาทอลิกจัดการอบรม ครู บุคลากร และพ่อแม่เกี่ยวกับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก หน้าที่อภิบาลในโรงเรียน และการบูรณาการคุณค่าพระวรสารใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

4. สภาฯ ปรับข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิก เพื่อส่งเสริมการรวมเป็นหนึ่งเดียวของโรงเรียนคาทอลิก โดยเห็นความสำคัญของโรงเรียนคาทอลิก และสร้างจุดยืนที่เด่นชัด

5. สภาฯ จัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างโรงเรียนคาทอลิกเป็นประจำ เพื่อการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน และสร้างระบบการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ และประเมินผลเกี่ยวกับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก รวมทั้ง เสริมแรงโรงเรียนคาทอลิก โดยการประกาศเกียรติคุณแก่โรงเรียนและครูที่ดี

6. สภาฯ จัดทำคู่มือและแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนคาทอลิก เพื่อนำเสนอBest Practice และ นำเสนอพัฒนาการใหม่ๆ ทางการศึกษาคาทอลิก

7. สภาฯ เป็นผู้แทนโรงเรียนคาทอลิก ในการเรียกร้องสิทธิอันพึงได้จากรัฐ และปกป้องโรงเรียนคาทอลิกจากนโยบายรัฐที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาที่แท้จริง และนำเสนอกฎระเบียบใหม่ที่สนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กและกลาง

 

โรงเรียนต่อพระศาสนจักร

1. โรงเรียนต้องซื่อสัตย์ต่ออัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก โดยเฉพาะในการทำหน้าที่ในการประกาศข่าวดีและงานอภิบาล

 

ที่มา : หนังสือก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (หน้า23-28)

 

สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 | ALL RIGHTS RESERVED | Catholic Education Council of Thailand | www.catholic-education.or.th
เลขที่ 122/9 อาคารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ซ.นาคสุวรรณ (นนทรี 14) ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-681-3840-4
122/9 Nonsi 14 (Nonsi Rd.), Chong Nonsi, Yan Nawa, Bangkok 10120 Tel.02-681-3840-4